เทคนิคการแสดงพื้นฐาน
การสร้างความเชื่อ
การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร
คือการสวมบทบาทของตัวละครในเรื่องนั้น
ผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิดความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ประกอบฉากในเรื่อง เป็นเรื่องจริง ๆ
การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร
ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ
นิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง อารมณ์ของตัวละคร
ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร
ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จักการใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์
และอุปนิสัยใจคอของตัวละครในบทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเขานั้นเป็นเรื่องจริง
แสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริงประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกัน
หรือกล่าวได้ว่าสามารถเข้าถึงศิลปะของการแสดงละคร
การแสดงร่วมกับผู้อื่น
การแสดงละคร
ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร
ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว
ทั้งนี้เพื่อจะได้สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ
บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดงกิริยาท่าทาง
การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม หรือหน้าบึ้ง
จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึกซึ้งขึ้น
เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน
ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก
ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้ คนสวนหรือตัวประกอบ
ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล
ผู้แสดงต้องสื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ
แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง
เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี
นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว
จะต้องมีทักษะและความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่นด้วย
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/292945%20%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B
เทคนิคการแสดงพื้นฐาน
การสร้างความเชื่อ
การแสดงร่วมกับผู้อื่น
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/292945%20%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น