วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผู้จัดการสร้าง (Producer)

ผู้จัดการสร้าง (Producer)

ผู้จัดการสร้าง (Producer) คือ ผู้ที่ทำงานบริหารงานภาพยนตร์ งานส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้านวางแผนจัดการประสานงานควบคุมการผลิต และนำภาพยนตร์ออกฉาย ขั้นตอนการทำงานของผุ้จัดการสร้าง มีดังนี้

1. คิดโครงการ ผู้จัดการสร้างจะคิดโครงการ หรือออกแบบโครงการภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ ชีวิตเด็กข้างถนน แท็กซี่เก็บเงินล้านได้ สาวประเภทสอง ผู้จัดการสร้างจะต้องคำนึงว่าหัวข้อที่คิดขึ้นนั้นว่า จะได้ผลหรือไม่ กล่าวคือ น่าสนใจมีความเป็นไปที่จะมีผู้สนับสนุน โดยโครงการนั้นจะประกอบไปด้วยแนวคิด เรื่องย่อ รายชื่อผู้แสดง รายชื่อทีมงาน แผนการทำงาน

2. เสนอโครงการต่อแหล่งทุน ผู้ดำเนินการสร้างจะนำโครงการติดต่อหาผู้สนับสนุน อาจจะเป็นองค์กรการกุศล หอศิลปะ ผู้มีฐานะทางการเงินดีที่เห็นด้วยกับโครงการ การรวบรวมเงินจำนวนคนละเล็กน้อยจากเพื่อนฝูงพี่น้อง รวมถึงการขอใช้กล้องฟรี ขอฟิล์มฟรี ขอใช้บริการห้องแล็ปฟรี ดังนี้เป็นต้น

3. จัดหาทีมงาน ผู้ดำเนินการสร้างจะจัดทีมงาน เช่น ผู้ถ่ายภาพ ผู้แต่งหน้า ทำผม ฝ่ายจัดฉาก ผู้ช่วยผู้กำกับ ฯลฯ

4. จัดหาผู้แสดง เมื่อได้แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกนักแสดงที่ชัดเจนแล้ว ผู้จัดการสร้างจะสรรหาผู้แสดง โดยเสาะหา คัดเลือก ติดต่อ ทาบทาม ทำสัญญาว่าจ้าง (ส่วนบุคลิกตัวละคร ความสามารถในการแสดง ผู้กำกับจะเป็นผู้พิจารณาโดยผู้จัดการสร้างร่วมตัดสินใจ)

5. ควบคุมการผลิต ผู้จัดการสร้างจะต้องควบคุมการผลิตให้ได้ผลงานที่ดี โดยใช้จ่ายไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ ต้องบริหารเงินให้มีค่าประสิทธิผล อำนวยความสะดวกให้ผู้กำกับ ผู้แสดง ช่างภาพ และทีมงานอื่นๆ ให้สร้างสรรค์งานได้อย่างสบายใจ จะต้องชั่งน้ำหนัก จัดสรรเงินให้ดีไม่บีบ่ไม่บีบคั้นทีมงานหรือหละหลวมเกินไป การควบคุมการผลิตอยู่ระหว่างกลางของการจัดวางงบประมาณและการสร้างสรรค์

6. การประสานงานประชาสัมพันธ์ เมื่อผลิตภาพยนตร์เสร็จแล้ว ก็นำภาพยนตร์ออกฉายผู้จัดการสร้างจะต้องวางแนวคิดในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดทำโปสเตอร์ เขียนข่าวติดต่อกับคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์เพื่อให้ลงข่าว จัดทำสูจิบัตรและบัตรเชิญ

7 .จัดนำภาพยนตร์ออกฉาย ผู้จัดการสร้างจะต้องจัดหาสถานที่นำภาพยนตร์ออกฉาย อาจจะใช้หอศิลปหรือส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในงานมหกรรมภาพยนตร์ต่างๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลงานและหาผู้สนับสนุนในการสร้างเรื่องต่อไป ซึ่งหากโชคดีอาจจะเข้าตาผู้บริหารค่ายภาพยนตร์ใหญ่ๆ ที่ชวนไปทำภาพยนตร์เรื่องยาว

 


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/director-piak/2012/12/06/entry-1

การคัดเลือกผู้แสดง (Casting)

การคัดเลือกผู้แสดง (Casting)

การหาผู้แสดง มีแหล่งที่หาได้ดังนี้

1.   ชมรมละครและการแสดงตามมหาวิทยาลัย ที่นี่จะเป็นศูนย์รวมของหนุ่มสาวหน้าตาดี มีความสนใจในการแสดงและมีความสามารถระดับหนึ่ง หากชมรมมีผลงานแสดงบนเวที เราก็จะเห็นความสามารถของนักแสดงจริงๆ หากไม่มีการแสดงก็อาจจะขอดูเทปบันทึกการแสดงครั้งก่อนๆ
2.    บริษัทจัดหานายแบบและนางแบบ บริษัทเหล่านี้จะมีแฟ้มภาพถ่ายของนายแบบนางแบบ โดยมีภาพใบหน้า ภาพถ่ายด้านหน้า เต็มตัว ให้เลือกพร้อมบอกความสามารถพิเศษอื่นๆ เช่น เล่นฉากบู๊ตีลังกาได้ ร้องเพลงได้ เต้นรำได้ เป็นต้น
3.    โรงเรียนการแสดงและภาพยนตร์ แผนกภาพยนตร์บางแห่งจะมีสาขาการแสดงการขับร้องนาฎศิลป์ จึงเป็นแหล่งที่รวมนักแสดงไว้มาก
4.     ชมรมเชียร์ลีดเดอร์ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่จะหานักแสดงได้ โดยเฉพาะคนที่มีรูปร่างดี
5.     สนามกีฬาและสถานเพาะกาย สถานที่เหล่านี้จะมีเด็กหนุ่มรูปร่างดีและหน้าตาดี มีบุคลิกภาพและความคล่องตัวให้เลือกมาก
6.    สถานบันเทิง เจ้าของกิจการบันเทิงมักจะหาเด็กสาว และเด็กหนุ่มหน้าตาดีไว้ทำงาน เช่น พนักงานเสิร์ฟในภัตตาคาร เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ต้อนรับ แผนกขาย แผนกบริการลูกค้า ฯลฯ
7.     เดินหาในรูปแบบของแมวมอง การหาวิธีนี้คือการลงพื้นที่ตามแหล่งต่างๆ ที่มีผู้คนมากมาย เช่น สถานีขนส่ง ศูนย์การค้า การแสดงคอนเสิร์ต ป้ายรถเมล์ เห็นใครบุคลิกดีก็ติดต่อ ขอชื่อเบอร์โทรศัพท์ วิธีนี้บางครั้งจะได้ผู้แสดงดีๆ อย่างคาดไม่ถึง เวลาแสดงจะแลดูเป็นธรรมชาติ (เนื่องจากไม่ใช่นักแสดงอาชีพอย่างผู้ที่มาจากโมเดลลิ่ง เอเจนซี) เขาจะเป็นผู้ที่เล่นภาพยนตร์ของเราครั้งแรกจึงไม่ติดบท และมาดเก่าๆ ที่เคยแสดงมาก่อน
8.    การประกาศหานักแสดง วิธีนี้ก็คือการจัดทำโปสเตอร์ไปติดที่ต่างๆ หรือประกาศทางหน้าหนังสือพิมพ์ บอกบุคลิกลักษณะที่ต้องการพร้อมสถานที่ติดต่อ



ที่มา : http://www.oknation.net/blog/director-piak/2012/12/06/entry-1

การหาสถานที่ถ่ายทำ (Location)

การหาสถานที่ถ่ายทำ (Location)

การหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์มีขั้นตอนดังนี้

1.    แยกงานสถานที่จากบทและรวมกลุ่มสถานที่ การเริ่มหาสถานที่ให้นำบทมาอ่านแล้วลำดับรายชื่อสถานที่เกิดขึ้นในบท จากนั้นก็มารวมกลุ่มกันโดยคำนึงถึงกลุ่มสถานที่ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวก เช่น ฉากทะเล ภูเขา หมู่บ้าน ชาวประมง ร้านอาหารริมทะเล หรือบ้านไม้ ซอยแคบ ถนนลูกรัง หรือโรงภาพยนตร์ ซุปเปอร์มาเกต ร้านไอศกรีม ฯลฯ
2.    ติดต่อสอบถาม เมื่อได้รายชื่อสถานที่แล้ว ให้ติดต่อสอบถามแหล่งต่างๆ เช่น จากเพื่อน ผู้ช่วยผู้กำกับกองถ่ายอื่น เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ดูจากนิตยสารการท่องเที่ยว โปสการ์ด แผ่นพับ เพื่อให้ได้ข้อมูลขั้นต้น ไม่ใช่ออกหาสถานที่เลย เพราะจะประหยัดเวลา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารได้มาก
3.    บริหารการเดินทาง การออกหาสถานที่ถ่ายทำ หากเช่ารถแล้วควรเริ่มออกแต่เช้าตรู่ บุคคลที่ไปหาไม่ควรเกิน 2 คน คือ ฝ่ายธุรกิจหนึ่ง และผู้ช่วยฝ่ายศิลป์หนึ่ง ฝ่ายธุรกิจดูแลการจัดการ เช่น ระยะทาง ค่าเช่าที่พัก การติดต่อขออนุมัติ ส่วนฝ่ายศิลปะดูความสวยงามทางศิลปะที่สอดคล้องกับบท ใช้กล้องและฟิล์มราคาถูกถ่ายภาพมุมต่างๆ ที่เห็นเหมาะ บางสถานที่ขอภาพถ่ายที่เขามีอยู่แล้ว หรือขอแผ่นพับโฆษณาก็ได้ ในขณะเดียวกันร่างแผนที่และแผนผังพื้นที่มาด้วย
4.     นำภาพถ่ายเข้าที่ประชุม นำภาพถ่ายแผ่นพับ แผนผัง และข้อมูลที่ได้มาเพื่อเข้าที่ประชุมและคัดเลือก
5.    ดูสถานที่จริง เมื่อคัดเลือกสถานที่ขั้นต้นได้แล้ว ขั้นต่อไปผู้กำกับ ผู้กำกับภาพ และผู้กำกับฝ่ายศิลป์ จะเดินทางไปดูสถานที่จริง จะเพิ่มเติมดัดแปลงอะไร จะวางกล้องตรงไหนจะได้ปรึกษากับตอนนี้ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่ วันเวลาเปิดปิด เงื่อนไขการเข้าสถานที่ก็ยืนยันความแน่นอนตอนนี้


ที่มา : http://samforkner.org/source/dirshortfilm.html


ความหมายของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น"

ความหมายของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น"
ไม่มีคำจำกัดความของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น" (short narrative หรือ short film) ที่แน่ชัดว่าคืออะไร แต่อนุโลมกันว่าถ้าภาพยนตร์นั้นมีความยาวต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง ถือว่าเป็นภาพยนตร์สั้นทั้งสิ้น เช่น ภาพยนตร์สั้นๆ (short narrative หรือ short film) ภาพยนตร์สารคดี (documentary film) ภาพยนตร์กึ่งสารคดี (docu-drama) ภาพยนตร์การ์ตูน (animation) ภาพยนตร์ศิลปะ (art film) ภาพยนตร์ทดลอง (experimental film) ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา (educational film) ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ (television commercial) ฯลฯ ศิลปะภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) มิวสิควิดีโอฯลฯ แต่ในที่นี้ ส่วนใหญ่จะพูดถึงภาพยนตร์ศิลปะและภาพยนตร์เรื่องสั้นๆ

จุดเด่นของภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือ จะมีอิสระในการแสดงออกทั้งเนื้อหาจะวิพากษ์วิจารณ์การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม หรือสังคมอย่างรุนแรงก็ได้ เนื่องจากภาพยนตร์สั้นมักจะฉายชมกันเฉพาะกลุ่ม ส่วนรูปแบบจะวิจิตรพิสดารอย่างไรก็ได้ ดูเข้าใจยากก็ได้เข้าใจง่ายก็ได้ ซึ่งต่างจากภาพยนตร์เรื่องยาวที่จะต้องดูเข้าใจง่าย เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามและใช้ดารามีชื่อแสดงนำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดไม่มีฉากอันไม่เหมาะสมที่ทำให้ถูกเซนเซอร์ ภาพยนตร์สั้นที่มีอิสระในการแสดงออกนี่เอง จึงเป็นภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมของคนรักศิลปะโดยทั่วไป


ข้อสังเกตที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือ มักจะมีประเด็นนำเสนอไม่สลับซับซ้อน มีตัวละครหลักเพียง 1-2 ตัว มีตัวประกอบไม่มาก ภาพยนตร์สั้นมักลงทุนไม่สูงนัก เนื่องจากไม่ได้ทำเพื่อฉายตามโรงภาพยนตร์ สำหรับในต่างประเทศที่วงการศิลปะเจริญกว่าเมืองไทย จะมีช่องทางนำเสนอผลงานหลาย เช่น พิพิธภัณฑ์ เทศกาลภาพยนตร์ โรงเรียนภาพยนตร์ หอศิลป ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ บางครั้งจำหน่ายได้ด้วย เช่น ขายให้หอสมุด และหอศิลป์ ที่ซื้อภาพยนตร์ประเภทนี้สะสมไว้ สำหรับประเทศไทยโอกาสในการแสดงฝีมือและความคิดยังไม่แพร่หลายนัก ส่วนใหญ่จะทำกันเองดูในกลุ่มผู้สนใจกัน แต่อย่างไรก็ตามระยะหลังๆ มีการจัดประกวดภาพยนตร์สั้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานของนักศึกษาหรือบัณฑิตที่จบไปแล้ว เพื่อเผยแพร่ผลงานเหล่านั้น


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คุณสมบัติของนักแสดงที่ดี

บุคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักแสดง

            ไม่ว่าการศึกษาวิชาศิลปะการแสดงนั้นจะเป็นไปเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อประดับความรู้หรือเพื่อการอื่น ๆ เมื่อผู้ศึกษาเล่นละคร ละครเวที หรือภาพยนตร์ได้ ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงคนหนึ่ง ความเก่งกาจสามารถมากหรือน้อยเป็นเรื่องที่จะต้องฝึกฝนกันเอาเองต่อไป
ความสำเร็จของการเป็นนักแสดงที่ดีนั้น มิใช่เพียงขึ้นอยู่กับว่ามีฝีมือการแสดงดีเท่านั้นหากแต่ยังต้องมีส่วน อื่น ๆ ประกอบกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของโลกทัศน์หรือทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
ศิลปะการแสดงก็เปรียบได้กับศาสตร์อื่น ๆ ทั่วไป คือมีทั้งผู้ที่เก่งกาจ และผู้ที่อยู่ในระหว่างการฝึกฝนเพื่อที่จะได้เป็นคนเล่นละครที่เก่งต่อไป ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงไม่น้อยไปกว่าทฤษฎีการแสดงก็คือ การหมั่นฝึกฝนและสำรวจตัวเองในเรื่องของโลกทัศน์ที่มีต่อการแสดง และเรื่องทั่ว ๆ ไป

 คุณสมบัติของนักแสดงที่ดี

1. การขยันขันแข็งในการฝึกซ้อม ท่องบท จะช่วยให้มีความคล่องตัวช่วยเพิ่มพูนฝีมือ เพิ่มพูนความเข้าใจ เพิ่มพูนความเร็ว การขยันฝึกซ้อมนั้นจะต้องทำให้เป็นนิสัยแม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงที่เก่งแล้ว มีฝีมือเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไปแล้ว ก็ยังต้องหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ

2. หมั่นศึกษาหาความรู้ทางศิลปะการแสดงเพิ่มเติมอยู่เสมอ จากครูอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน จากตำรับตำรา จากการฟัง ฯลฯ วิทยาการและเทคโนโลยีนั้นก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา หากไม่หมั่นศึกษาจะกลายเป็นคนล้าหลัง และตามเพื่อนพ้องไม่ทัน

3. มีความละเอียดละออในการดู การอ่านบท การเขียนบท และ การเล่นละคร อย่าปล่อยให้รายละเอียดความสวยงามที่น่าสนใจ หรือกลเม็ดต่าง ๆ ผ่านไป โดยมิได้กระทบโสตประสาทของเรา

4. ลดอัตราในตัวเองให้มากที่สุด จงเป็นคนถ่อมตัว อย่าถือเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ อย่าคิดว่าเราต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดกาล การคิดเช่นนั้น จะทำให้เราไม่ได้อะไรใหม่ ๆ และกลายเป็นคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาด

ละครนั้นเป็นศิลปะอิสระที่ไร้ขอบเขต ความสวยงามมิได้อยู่ที่เล่นได้ถูกต้องตามบทต้นฉบับเท่านั้น แต่อยู่ที่ผู้เล่นสามารถสื่อถึงผู้ชมได้ดีเพียงไร การมีอัตรามากจะทำให้เราถูกขังอยู่แต่ในความคิดคำนึงของเราคนเดียว ไม่อาจข้ามพ้นไปรับความเป็นอิสระในทางความคิดใหม่ ๆ ทั้งที่เราก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์ได้ดีอีกคนหนึ่ง

5. อย่าตำหนิติเตียนผู้ที่มีฝีมือการแสดงด้อยกว่า แนะนำสิ่งที่น่าสนใจแก่เขาตามกำลังความสามารถของเขาที่จะรับได้ จงให้กำลังใจเขาและส่งเสริมให้เขามีฝีมือขึ้นมาเสมอเรา หรือก้าวไปไกลกว่าเรา ความเจริญและความดีงามของสังคมขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีคุณภาพเป็น จำนวนมาก

6. เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าในหมู่เพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในธุรกิจการละคร รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น อย่าเป็นตัวสร้างปัญหาในกลุ่มคนที่ร่วมงานกับเรา จะทำให้เราเป็นบุคคลที่น่าเบื่อหน่าย

7. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนัดฝึกซ้อมหรือในการแสดงจริง ต้องตรงต่อเวลาจริง ๆ ทั้งยังต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับอุปสรรคในการเดินทางด้วย งานทุกงานควรเริ่มต้นและจบลงตามกำหนดการ ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ฟังได้และอภัยให้ได้สำหรับความผิดพลาดเรื่องเวลา

8. เมื่อมีโอกาสถ่ายทอดความรู้สึกผู้อื่น จงกระทำในลักษณะแนะนำ แจกแจงชี้ให้เห็น จงคำนึงถึงความยอมรับในตัวเราจากผู้เรียนให้มากที่สุด และถ่ายทอดความรู้ที่มีโดยไม่ปิดบังอำพราง ผู้รับจะรับความรู้ที่เราถ่ายทอดให้ได้ตามความสามารถในการเรียนรู้ของเขาการถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังจะก่อให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าการต่อยอดทางการเรียน ศิษย์ที่รับความรู้ได้เร็วจะนำความรู้ที่ได้ไปฝึกฝนหรือค้นคว้า ต่อออกไปอีก ทำให้ความรู้ความสามารถแตกสาขาออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

9. จงเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อย่าถือวิสาสะหยิบหรือเคลื่อนย้ายของใช้ของผู้อื่น โดยเจ้าของมิได้อนุญาติเสียก่อน

10. นักแสดงต้องรู้หน้าที่ของตนเอง เมื่อแสดงละครอยู่บนเวทีหรือหน้ากล้องต้องรู้จักรับผิดชอบในการเล่นละครให้สมบทบาทที่ตนเองได้รับให้ดีที่สุด ปฏิบัติตามคำสั่งในบทละครของตนเองอย่างดีที่สุด ไม่ควรก้าวก่ายไปเล่นบทพูดที่มีผู้เล่นอยู่แล้ว จะทำให้เกิดความสับสนในการต่อบทและเกิดการผิดคิว เนื่องจากการเล่นผิดเล่นถูกซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการแสดงละครเลยแม้แต่น้อย

11. จงเป็นผู้มองโลกในแง่ดีเสมอให้อภัยคน อย่าเป็นคนโกรธง่าย อย่าใช้ยาเสพติดช่วยสร้างอารมณ์ในการเล่นละคร นักแสดงควรมีอารมณ์สุนทรีย์โดยธรรมชาติ มองโลกในแง่ดี มองโลกให้กว้างเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีในชีวิต

12. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ทั้งฝีมือและพฤติกรรม คนแต่ละคนมีจริต และสิ่งเอื้ออำนวยที่แตกต่างกันโดยธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกันได้ ความกระตือรือร้นและทะเยอทะยานที่จะมีฝีมือและความรู้ที่มากขึ้น ควรขึ้นอยู่กับความท้าทายจากสิ่งที่เราเรียนรู้มิควรให้เกิดจาก ความคิดที่จะเอาชนะผู้อื่น เราจะไม่มีวันชนะใครตราบเท่าที่เราอยากเอาชนะ


ความเป็นนักแสดง สิ่งที่จะต้องทำเป็นประจำคือการเล่นละครเพื่อสื่อถึงผู้ชม นั่นเท่ากับว่าตลอดเวลาเราทำการแสดงเพื่อผู้อื่นรับชมอยู่แล้ว ดังนั้นจิตสำนึกของนักแสดงจึงต้องคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตนเอง จงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความสุขอย่างเต็มที่ จะต้องคิดเสมอว่าสิ่งที่ออกไปจากเรา ผู้อื่นเขารับแล้วพอใจไหม ยินดีหรือไม่ การคิดคำนึงอย่างนี้จะนำให้เรากระทำแต่สิ่งที่ดีอยู่ตลอดเวลา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บุคลิกภาพและจรรยาบรรณของนักแสดง

ที่มา : https://drive.google.com/a/srp.ac.th/file/d/0Bwswgvkk3s2mYmQ1YjdmM2EtNTAyZC00NmY3LWI3OGQtZWZlZjA0MWY4NmE1/view?ddrp=1&hl=en&pli=1#

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน้าที่ของนักแสดง

หน้าที่ของนักแสดง

หน้าที่ของนักแสดง เมื่อได้รับบทให้แสดงเป็นตัวอะไรไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ เช่น คนรับใช้ พี่เลี้ยง ทหาร ตำรวจ พยาบาล ประชาชน ก็ควรทุ่มเทฝึกซ้อมให้เต็มความสามารถ เพราะมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างสูงสุดที่มีต่อผู้ชม และเพื่อนร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าผู้แสดงไม่ตั้งใจแสดงก็เหมือนเป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบฝ่ายต่าง ๆ

ฉะนั้นนักแสดงจะต้องมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มิใช่รักแต่ความดังที่ได้รับเป็นตัวเอก นักแสดงที่ดีต้องอุทิศตนเพื่องาน สามารถแสดงได้ทุกบทบาท มองเห็นคุณค่าของการแสดงว่าเป็นศิลปะ และควรภูมิใจที่ได้รับเลือก ให้เป็นผู้แสดง ไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ ตัวร้าย ก็สามารถให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมได้เช่นกัน


ที่มา : https://blog.eduzones.com/dena/5233

นักแสดง

นักแสดง

นักแสดง (Actor) คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม นักแสดงคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ชมมากที่สุด ผู้ที่เป็นนักแสดง พึงคิดไว้เสมอว่า "ละครคือศิลปะที่รวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ความสำเร็จของละครอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงานทุกฝ่าย" นักแสดงจึงไม่ควรเย่อหยิ่งหรือคิดว่าตนเป็นคนสำคัญแต่เพียงผู้เดียว และพึงระลึกเสมอว่าตัวละครในบทละครทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด นับตั้งแต่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ตัวประกอบ

นักแสดงนั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นบุคคลเพศ, อาชีพ, หรือ อายุเท่าไร แต่จำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านการการแสดงออกทางสีหน้า อารมณ์และองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยมาก คำว่า นักแสดง มักจะใช้เรียกว่า ดารา เสมอไป


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87

เทคนิคการแสดงพื้นฐาน

เทคนิคการแสดงพื้นฐาน

การสร้างความเชื่อ

            การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร คือการสวมบทบาทของตัวละครในเรื่องนั้น ผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิดความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบฉากในเรื่อง เป็นเรื่องจริง ๆ การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ นิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง อารมณ์ของตัวละคร
            ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จักการใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์ และอุปนิสัยใจคอของตัวละครในบทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเขานั้นเป็นเรื่องจริง แสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริงประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่าสามารถเข้าถึงศิลปะของการแสดงละคร

 การแสดงร่วมกับผู้อื่น

การแสดงละคร ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว ทั้งนี้เพื่อจะได้สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดงกิริยาท่าทาง การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม หรือหน้าบึ้ง จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึกซึ้งขึ้น เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน
ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้ คนสวนหรือตัวประกอบ ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล ผู้แสดงต้องสื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว จะต้องมีทักษะและความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่นด้วย

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/292945%20%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B

ตัวละครเดียว

ตัวละครเดียว (One Major Character)

ตัวละครในภาพยนตร์ คือ การแสดงของคนที่มีบุคลิกลักษณะตามที่เราเลือกไว้เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดงตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์) หรือ วิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่างๆ หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่นแล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ



ที่มา : http://writer.dek-d.com/condaa/story/viewlongc.php?id=237595&chapter=3

ศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดง (performing arts) คือ การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ประกอบด้วยดนตรี นาฏศิลป์ และการแสดงประเภทต่างๆ สำหรับความหมายของศิลปะการแสดง อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีกให้ความหมายไว้ว่า "ศิลปะการแสดง คือ การเลียนแบบธรรมชาติ" และ ลีโอ ตอลสตอย ให้ความหมายไว้ว่า "ศิลปะการแสดง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ ด้วยการใช้คำพูดถ่ายทอดความคิด และศิลปะของการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก"

ประเภทของศิลปะการแสดง เช่น ดนตรี การละคร การเต้นรำ