วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) 8.0.1

            ดาวน์โหลด Google SketchUp โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างแบบจำลอง 3 มิติ สร้างโมเดลบ้าน ออกแบบประตู หน้าต่าง ออกแบบรถ ออกแบบตัวละคร วาดการ์ตูน ได้ทุกอย่าง ใช้ง่ายมาก


SketchUp Make (โปรแกรมทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง สร้างโมเดล 3 มิติ) 15.3
ดาวน์โหลดโปรแกรม SketchUp Make ทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง ออกแบบโมเดล 3 มิติ ต่างๆ ได้ง่ายๆ มีคลิปสอนวิธีการใช้งาน และ วิธีการให้ลองทำตาม อย่างละเอียด ฟรี ไม่มีค่าบริการใดๆ

Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)
ดาวน์โหลด Blender ฟรีโปรแกรมออกแบบวัตถุ 3 มิติ โปรแกรม Animation 3 มิติ ออกแบบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ 3D Animation แจ๋วๆ โปรแกรมออกแบบ ได้ทั้ง ออกแบบรถ ตัวละคร





ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)

LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ)

โปรแกรม LibreCAD โปรแกรมออกแบบ วัตถุ 2 มิติ (2D) หรือเรียกว่า โปรแกรมวาดแบบ ก็ได้ ใช้ออกแบบวัตถุต่างๆ ออกแบบเสื้อ ออกแบบบ้าน วัตถุต่างๆ ได้ตามใจชอบ


QCad (โปรแกรมออกแบบ CAD แบบ 2 มิติ ฟรี)
โปรแกรมออกแบบ ประเภท CAD 2 มิติ  QCad ขนาดเล็ก สามารถใช้ออกแบบได้หลากหลาย หลายรูปทรง วาดรูป ลากเล้น โค้งเว้า ออกแบบร่างต่างๆ มีรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 30 แบบ



เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT)  หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป

5W1H

5W1H: วิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ
5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ วิธีการพื้นฐาน
วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร
What.
คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร
Who.
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน
When.
หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข
Where.
เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่
Why.
เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน
How.  
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจเป็นส่วนสำคัญที่สุด
5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย



ตัวอย่างการออกแบบ

1. Macbook Air ออกแบบโดย Apple
Macbook Air ขนาด 13 นิ้ว ที่มีส่วนที่บางที่สุดเพียง 3 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น แต่ Apple สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อย่างไร? ด้วยนวัตกรรมใหม่ของ Apple ที่สร้างแหล่งเก็บข้อมูลหรือ flash storage ที่มีความหนาน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จึงจำเป็นต้องสร้าง Product Design ที่แตกต่างหากจาก Macbook Pro ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด การที่ Apple ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีน้ำหนักเบาและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้น


2. iPad 2 ออกแบบโดย Apple
อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการเครื่องมืออิเล็คโทรนิคที่เบาและสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วยเช่นกัน Apple ออกแบบ iPad 2 ให้มีความบางกว่า iPad รุ่นก่อนหน้าถึง 33 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักเบากว่าถึง 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังติดกล้องไว้สองด้าน และกล้องถ่ายรูปด้านหลังรองรับการถ่ายแบบความละเอียดสูงอีกด้วย

3. Jambox[k1] for Jawbone ออกแบบโดย Yves Behar and Jawbone
ลำโพงไร้สายตัวนี้เกิดขึ้นจากความต้องการลำโพงที่สามารถส่งเสียงดังสนั่นและสามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวก รวมถึงเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ที่บรรจุเพลงโปรดของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone iPodTouch หรือ iPad ได้ Jambox เป็นลำโพงที่ทำจากเหล็กกล้า เชื่อมด้วยท่อยางที่คลุมสี่รอบด้าน เพื่อลดส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น ดีไซน์ด้วยความเรียบง่ายนี้ก็ทำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ

4. Bicygnals Angel ออกแบบโดย Gavin Thompson Design
ในต่างประเทศมีสถิติอุบัติเหตุจักรยานมากที่สุดหลังช่วงเวลาสี่โมงเย็นเป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่มืดค่ำแล้ว นักออกแบบ Gavin Thompson จึงคิดค้นหมวกกันน็อคที่เรืองแสงในที่มืด แบบวงกลม 360 องศา และชาร์ตแบตเตอรี่ผ่าน USB ได้ หมวกกันน็อคตัวนี้จะกระพริบแสงเป็นจังหวะ เพื่อบอกตำแหน่งของคนที่ขี่จักรยานให้คนที่ขับรถยนต์รู้ ผลิตภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความปลอดภัยของคนที่ขับจักรยานกลับบ้านตอนกลางคืนในต่างประเทศ

การออกแบบ

การออกแบบ ( Design ) คือ ศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้

1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน

2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้

3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้


ดังนั้นนักออกแบบ ( Designer ) คือ ผู้ที่พยายามค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หาวิธีแก้ไข หรือหาคำตอบใหม่ๆสำหรับปัญหาต่างๆ

กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

      เทคโนโลยีเป็นความรู้สาขาหนึ่งของมนุษย์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งความรู้ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน ทักษะต่าง ๆ ในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการเทคโนโลยีจึงต้องอาศัยความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาสนับสนุน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายหลักทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งต่างๆความรู้ทางศิลปะช่วยวาดภาพหรือเขียนโครงร่างของสิ่งที่คิดประดิษฐ์ให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือความรู้สาขามนุษย์ช่วยให้เข้าใจความต้องการวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์สิ่งเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการทำงานทางเทคโนโลยี
          
  ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
            การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้
                1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
                2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
                3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี
            
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
            ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
                - สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
                - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
                - เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
                - วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
                - การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
                - วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

ความสำคัญของเทคโนโลยี

“เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ ” 
ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การมีเว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น แม้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อการปฏิบัติราชการได้เช่นกัน
         เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
         ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน

ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี 

หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น



ค่านิยม 12 ประการ

สำหรับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของ คสช. ประกอบด้วย

1. มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- เป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา
2. มีความซื่อสัตย์สุจริต
- ไม่พูดโกหก
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
-เชื่อฟัง และ เคารพ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ตั้งใจเรียน
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
-อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
- ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกง
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
- ใช้เสียงข้างมากในการตัดสินต่างๆเมื่อทำงานกลุ่ม
8. มีระเบียบวินัย รักษากฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
- เคารพผู้ที่อาวุโสกว่าเรา
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
-มีสติอยู่เสมอไม่ประมาท
10. รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
- เข้มแข็ง ไม่ทำตัวอ่อนแอ
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
-คิดถึงส่วนรวมมากกว่าตัวเอง

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ ณัฏฐณิชา นามสกุล อุบลสอาด ชื่อเล่น ณิชา
เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2543 อายุ 15 ปี
ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปี 4/9 โครงการ SME โรงเรียน สุราษฎร์พิทยา
วิชาที่ชอบ ภาษาอังกฤษ
วิชาที่ไม่ชอบ ทุกวิชาที่ต้องคิดเลข
สีที่ชอบ ม่วง/ชมพู