วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การเตรียมตัวในการทำหน้าที่พิธีกร

การเตรียมตัวในการทำหน้าที่พิธีกร หรือโฆษก ผู้ประกาศ


พิธีกรหรือโฆษก จะต้องมีการเตรียมตัวในการทำหน้าที่ ดังนี้

1.  ศึกษาข้อมูล / วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้นำ ผู้ชม โอกาส วัตถุประสงค์ของงานพิธี รายการที่กำหนดไว้ เพื่อทราบความมุ่งหมายของการทำหน้าที่
2. เตรียมเนื้อหาและคำพูด เริ่มต้นอย่างไร ? มุขตลก ขำขัน แทรกอย่างไร คำคม ลูกเล่น จุดเด่นที่ควรกล่าวถึง ต้องเตรียมค้นคว้าศึกษาจากศูนย์ข้อมูลมาให้พร้อม
3.  ตรวจสอบความเหมาะสม ของบทความที่เตรียมมาว่าเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
4. ต้องมีการฝึกซ้อมไม่ว่าจะซ้อมหลอกหรือซ้อมจริง ต้องมีการฝึกซ้อม
5.  ศึกษาสถานที่จัดงานหรือพิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
6.  เตรียมเสื้อผ้าและชุดการแต่งกาย อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม พร้อมดูแลตั้งแต่ หัวจรดเท้า

ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่พิธีกร หรือโฆษก

ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่ของพิธีกรหรือโฆษก มีดังนี้
                •  ทำจิตให้แจ่มใส
                •  ไปถึงก่อนเวลา
                •  อุ่นเครื่องแก้ประหม่า
                •  ทำหน้าที่สุดฝีมือ
                •  เลื่องลือผลงาน

ข้อพึงระวัง สำหรับการทำหน้าที่เป็นพิธีกร 

                  •  ต้องดูดีมีบุคลิก
                  •  ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งเครียด
                  •  ต้องแสดงออกอย่างสุภาพและให้เกียรติ ร่าเริงแจ่มใส ให้ความเป็นกันเอง
                  •  ต้องมีการประสานงานด้านข้อมูล และพร้อมเผชิญปัญหาโดยไม่หงุดหงิด
                  •  ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจนให้ชวนฟัง น่าติดตาม
                  •  ต้องเสริมจุดเด่นของคนอื่นไม่ใช่ของตนเอง
                  •  สร้างความประทับใจ ด้านสุภาษิต หรือคำคม


ที่มา : www.local.moi.go.th/piteekon.html

พิธีกร (Master of Ceremony: MC)

พิธีกร (Master of Ceremony: MC)


พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้

หน้าที่ของพิธีกร

1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม
             1. แจ้งกำหนดการ
             2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
             3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
             4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ

2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
             1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
             2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
             2. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน

3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น
             1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
             2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
             3. แจ้งขอความร่วมมือ
             4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
             5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม 

4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
             1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
             2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ

5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น
             1. กล่าวละลายพฤติกรรม
             2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี

6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
             1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
             2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

ที่มา : www.local.moi.go.th/piteekon.html


ผู้จัดการกองถ่าย ผู้ช่วยกองถ่าย และ สวัสดิการกองถ่าย

ผู้จัดการกองถ่าย (Production Manager)


หน้าที่ของผู้จัดการกองถ่าย คือ ควบคุมความเรียบร้อยของกองถ่าย ควบคุมคิวจัดลำดับการถ่ายทำ  รับผิดชอบการเงิน สำหรับการถ่ายทำละคร  เป็นผู้จัดทำ break down และโทรนัดหมายคิวนักแสดง


ผู้ช่วยกองถ่าย (Production Assistant /PA)

            หน้าที่ของผู้ช่วยกองถ่าย คือ การถ่ายในสตูดิโอ มีหน้าที่ถือคิวการ์ด  จดบันทึกการแก้ไขสคริปต์  ช่วยเหลือผู้ช่วยผู้กำกับ และ คอยประสานงานทั่วไปในกองถ่าย เรียกนักแสดงเข้าฉาก แจ้งลำดับการถ่ายทำในแต่ละฉากให้ทุกฝ่ายได้ทราบ


สวัสดิการกองถ่าย

หน้าที่ของสวัสดิการกองถ่าย คือ ดูแลเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และ ปฐมพยาบาลทีมงาน และนักแสดง


ที่มา : dusit.ac.th/~msportfolio/public/adviser/168/บุคลากร_new.ppt

ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์

ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์

ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงจะมีหน้าที่จัดการและดูแลความเรียบร้อยทั่วไปของฉากที่กำลังจะถ่ายทำ  นอกจากนั้น  ผู้ช่วยผู้กำกับยังมีหน้าที่คอยช่วยเหลือหรือทำในสิ่งที่ผู้กำกับสั่งเหมือนกับเป็นเลขาคนสนิทของผู้กำกับ  และต้องทำงานสัมพันธ์กับผู้จัดการกองถ่ายด้วย

ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องรู้แผนการทำงานถ่ายทำประจำวันอย่างละเอียด  และตรวจตราว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน  ดาราที่จะเข้าฉากจะต้องพร้อม  ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องดูว่าตัวแสดงคนใดจะเข้าฉากเมื่อไหร่  ตัวแสดงคนไหนไปพักผ่อนได้  สิ่งที่ผู้ช่วยผู้กำกับกลัวที่สุดก็คือตัวแสดงที่ผู้กำกับการแสดงต้องการไม่อยู่ในที่นั้น  เพราะบางทีผู้ช่วยผู้กำกับเห็นว่าตัวแสดงคนเห็นไม่มีบทในตอนนี้  ก็อนุญาตให้ไปเดินเล่นหรือพักผ่อนได้  แต่ถ้าผู้กำกับการแสดงต้องกรตัวแสดงนั้นขึ้นมา  ผู้ช่วยผู้กำกับต้องเป็นผู้รับผิดชอบ  โดยทั่วไปผู้ช่วยผู้กำกับจะบอกให้ตัวแสดงอยู่ในที่ๆสามารถติดต่อได้ ผู้ช่วยผู้กำกับที่จะเป็นที่รักของตัวแสดงได้  จะต้องเป็นผู้กำหนดเวลาได้ถูกต้องว่าแต่ละคนควรจะมาเข้าฉากเวลาไหน

ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องคอยเตือนว่าฉากต่อไปจะเป็นฉากอะไรและตัวแสดงใดจะต้องเข้ากล้อง  พร้อมทั้งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเสื้อผ้า  และทรงผมที่ใช้ในฉากนั้นๆด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้ตัวแสดงเหล่านั้นเตรียมตัวให้พร้อมในด้านการแสดงและทั่วๆไปนอกจาดนั้น  ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องรับผิดชอบการเดินทางทั้งไปและกลับของตัวแสดงด้วย

ผู้ช่วยผู้กับกำจะเริ่มงานสองถึงสี่สัปดาห์ก่อนที่จะเปิดกล้อง  ก่อนอื่นก็ต้องศึกษาบทภาพยนตร์  โดยเน้นที่ตัวแสดงประกอบที่ไม่มีความสำคัญมาก  หรือตัวประกอบที่เดินผ่านฉากเฉยๆโดยไม่มีบทพูดเลย  ตัวแสดงพวกนี้อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ช่วยผู้กำกับต่อจากนั้น  เขาจะต้องทำความคุ้นเคยกับฉากและสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ผู้ช่วยผู้กำกับจะเป็นผู้ติดต่อหาตัวประกอบฉากจากหน่วยงานที่เรียกว่าเซ็นทรัล  คาสติ้ง (Central Casting) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่มีตัวประกอบอยู่ในสังกัดมากมาย  และโรงถ่ายทุกโรงสามารถจะว่าจ้างไปเข้าฉากได้  ในบ้านเรา  ก็มีโรงเรียนสอนศิลปะการแสดง  ซึ่งในปัจจุบันทำหน้าที่คล้ายเซ็นทรัล คาสติ้ง  คือมีตัวประกอบทุกประเภทให้กองถ่ายภาพยนตร์และโทรทัศน์ว่าจ้างไปเข้าฉากได้  นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแสดงมาก เพราะตัวประกอบประเภทนี้ได้รับการฝึกฝนการแสดงขั้นพื้นฐานมาแล้ว  จึงง่ายแก่การควบคุมและกำกับ

ในระหว่างการถ่ายทำ  ทุกอย่างต้องเป็นระเบียบแลทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม  แม้ว่าจะเป็นดาราใหญ่หรืใครก็ตามเมื่อถึงเวลาถ่ายทำจะต้องอยู่ในระเบียบ  หน้าของผู้ช่วยผู้กำกับอีกประการคือต้องคอยตะโกนให้ทุกคนเงียบเมื่อจะต้องมีการถ่ายทำ  อาจจะต้องตะโกนว่า “ทุกคนเงียบ” วันละหลายสิบครั้ง


ในฉากใหญ่ๆที่มีตัวละครหลายตัว ผู้ช่วยผู้กำกับจะเป็นคนคอยช่วยบอกว่าตัวประกอบแต่ละตัวต้องทำอย่างไร  ถ้าฉากที่ถ่ายทำมีตัวประกอบมากๆ ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องมีคนช่วยคอยช่วยกำกับตัวประกอบนี้ด้วย เช่นในฉากห้างสรรพสินค้า มีตัวแสดงตัวประกอบฉากมากมาย  ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะบอกว่าคนนั้นต้องทำท่าลองลิปสติก  คนขายต้องคอบแนะนำ  อีกคนเดินไปทางซ้าย อีกคนเดินไปทางตู้ใส่ของเด็ก  อีกห้าคนยืนมุงดูของลดราคา  เช่นนี้เป็นต้น  ในกรณีที่เป็นฉากภายนอก  ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะต้องควบคุมตัวประกอบและรถให้เคลื่อนไหวไปตามความเหมาะสมของบทภาพยนตร์  ยิ่งฉากใหญ่มากและมีผู้ประกอบฉากมากงานของผู้ช่วยผู้กำกับก็ยิ่งหนักและต้องการผู้ช่วยมากขึ้น


ที่มา : http://gaka-sw.blogspot.com/2011/08/blog-post_16.html

บุคลากรในงานภาพยนตร์

บุคลากรในงานภาพยนตร์
บุคลากรในงานภาพยนตร์ คือบุคลากรที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ มีด้วยกันหลากหลายตำแหน่งมาก อาจสามารถจำแนกได้ทั้ง ก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต แต่บางตำแหน่งก็อาจจะไม่ตายตัว บางตำแหน่งต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดก็มี หรือบางตำอาจมีปลีกย่อยลงไปได้อีก โดยมีดังต่อไปนี้

1.ก่อนการผลิตจะต้องพิจารณา

  • Author : ผู้ประพันธ์ อาจเป็นผู้ที่แต่งชิ้นงานนั้นๆขึ้นมาอยู่แล้ว
  • Screenwriter : ผู้เขียนบท
  • Producer : ผู้อำนวยการสร้าง ผู้ควบคุมการผลิต เป็นผู้ที่ออกงบประมาณในการสร้างให้


            2.ระหว่างการผลิตจะต้องพิจารณา


  • Associate Producer : ผู้อำนวยการดูการสร้าง เป็นคนที่คอยมาตรวจดูการสร้าง
  • Director : ผู้กำกับ เป็นผู้ที่ควบคุมกองการถ่ายทำภาพยนตร์
  • First Assistant Director : ผู้ช่วยผู้กำกับหนึ่ง เป็นผู้ช่วยดูแลในกองถ่ายทำภาพยนตร์
  • Second Assistant Director : ผู้ช่วยผู้กำกับสอง
  • Second Second Assistant Direct : ผู้ช่วยผู้ช่วยผู้กำกับสอง
  • Director of Photography : ผู้กำกับภาพ ดูแลเรื่องภาพที่จะถ่ายออกมา
  • Gaffer : ช่างไฟ ดูแลเรื่องการจัดแสงให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับภาพต้องการ
  • " Script Supervisor " คนดูแลความต่อเนื่องของบท
  • Continuity : คนดูแลความต่อเนื่อง ผู้จดจำความต่อเนื่อง คอยดูแลความต่อเนื่อง ของการแสดง ในแต่ละช็อต
  • Camera Operator : ช่างภาพ หรือ Camera Man
  • Focuspuller : ผู้ช่วยผู้กำกับภาพหนึ่ง หรือผู้ปรับชัดระยะถ่าย
  • Claper/Loader : ผู้ช่วยผู้กำกับภาพสอง ช่วยในการวัดระยะภาพ และบันทึกสเลท
  • Dolly Pusher : ผู้เข็นดอลลี่ คอยเข็นดอลลี่ (ฐานเลื่อนใต้กล้อง บางทีอาจรวมถึงเครนด้วย)
  • Art Director : ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ มีหน้าที่ดูแล และตกแต่งฉาก
  • Property Master : หัวหน้าอุปกรณ์ และวัสดุ
  • Rigger : ผู้ดูแลเครื่องมือขนาดใหญ่
  • Unit Carpenter / Painter ช่างไม้ และทาสี (หน่วยประกอบฉาก)
  • Wardrobe Supervisor : ผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย (ในกรณีที่มีการแต่งกายย้อนยุค หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้า)
  • Chief Make-Up Artist : หัวหน้าฝ่ายแต่งหน้า
  • Hair Stylist : ผู้ออกแบบทรงผม
  • Actor : นักแสดงชาย
  • Actress : นักแสดงหญิง
  • Stills Photographer : ผู้บันทึกภาพนิ่ง, ถ่ายภาพนิ่ง
  • Police Liasion : ผู้ติดต่อประสานงาน คอยประสานงานระหว่างกองถ่าย และบุคคลภายนอก
  • Electrician  : ช่างไฟฟ้า ดูแลเรื่องไฟฟ้าในกองถ่าย
  • Sound Engineer : ผู้บันทึกเสียง คอยดูแลเรื่องเสียง
  • Assistant Sound Engineer : ผู้ช่วยผู้บันทึกเสียง ส่วนมากจะต้องช่วยถือไมล์บูม
  • Editor : ผู้ตัดต่อลำดับภาพ
  • Production Manager : ผู้จัดการกองถ่าย ผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นผู้ที่คอยควบคุม และคอยดูแล ในกองถ่ายภาพยนตร์อีกทีนึง
  • Production Accountant : ฝ่ายบัญชีกองถ่าย ผู้อำนวยการงบประมาณ ในกองถ่ายทำ
  • ในกองบางกองอาจจะมีปลีกย่อยลงไปอีก หรือมีน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดในกองถ่าย

            3.หลังการผลิตจะต้องพิจารณา

  • Publicity Director : บรรณาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ

 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  

องค์ประกอบของการสื่อสาร

          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง 

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน 
  • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส  
  • โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)

เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร 
  • วอยซ์เมล (Voice Mail)               

เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์
  • การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               

เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้  
  • การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               

เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
  •      กรุ๊ปแวร์(groupware)               

เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
  •      การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               

ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
  •      การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               

เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
  •       การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)

เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  

ชนิดของสัญญาณข้อมูล

1.  สัญญาณแอนาล็อก(Analog Signal)               
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ  
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนาล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
                
2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)               
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที                
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                   
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที 

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ

          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 

ตัวกลางการสื่อสาร

1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว

สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 


2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
- แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 

หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล

          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 

มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)

1. บลูทูธ (Bluetooth)

          2. ไวไฟ (Wi-Fi)

          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)